วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566

ไหว้พระจันทร์ปีนี้ ขอพรเจ้าแม่ทับทิม เสริมสิริมงคลชีวิตรุ่งเรือง ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

ไหว้พระจันทร์ปีนี้ ขอพรเจ้าแม่ทับทิม เสริมสิริมงคลชีวิตรุ่งเรือง ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

      สวนหลวง-สามย่าน ร่วมกับคณะกรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ จัดพิธีไหว้พระจันทร์ ในวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 19.00 น. ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาสักการะขอพรเสริมสิริมงคล ด้านสุขภาพ การเรียน การงาน การเงินธุรกิจ ความรัก ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ


และพิเศษสุดวันไหว้พระจันทร์ ตั้งแต่วันนี้ - 29 กันยายน 2566 ศาลเจ้าแม่ทับทิมขยายเวลาเปิดถึงเวลา 21.00 น. เพี่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มีจิตศรัทธาได้สักการะเจ้าแม่ทับทิม และพบกับร้านน้องเบเกอร์รี่ที่อำนวยความสะดวกด้วยการนำขนมไหว้พระจันทร์มาจำหน่ายและมอบส่วนลด 10% อีกทั้งยังชวน Work Shop ทำข้าวเกรียบปากหม้อ เวลา 18.00 น.โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ


พร้อมกันนี้ตลาดสามย่านได้รวบรวมของไหว้และผลไม้มงคลให้เลือกสรร 

• ขนมไหว้พระจันทร์หลากหลายแบรนด์, ขนมมงคลทั้งสไตล์ไทยและจีนที่ร้านน้องเบเกอร์รี่และร้านเจ๊จันทร์  

• ผลไม้มงคลหลากหลายจากร้านป้าหลวย, ร้านเจ๊เล็ก,  ร้านเจี๊ยบ, ร้านFruit Plus และร้านเจ๊ส่วน

• ดอกไม้ พวงมาลัย ธูปเทียน และเครื่องไหว้ชุดเพ้าหรือชุดกระดาษไหว้ที่ร้านเอี้ยงนี้ และร้านสุพรรณี  

• เครื่องไหว้มงคล อาทิ วุ้นเส้น สาหร่าย ฟองเต้าหู้ เห็ดหอมที่ร้านน้องสุดใจ


         ส่วนการเดินทางมาศาลเจ้าแม่ทับทิม ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ มีสถานที่จอดรถที่สะดวกสบาย ปลอดภัย หรือสามารถเดินทางได้หลากหลายช่องทาง 

• รถยนต์ส่วนตัวสามารถจอดรถได้ที่ลานจอดรถอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

• รถไฟฟ้า BTS สถานี สนามกีฬาแห่งชาติ ต่อรถ Shuttle Bus สาย 2 ลงป้าย อาคารจามจุรี 14 แล้วเดินต่อมาที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ หรือ ตุ๊ก ตุ๊ก  Movmi ลงสถานีลานจอดรถอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

• รถไฟฟ้า BTS สถานี สยามสแควร์ ต่อรถ Shuttle Bus สาย 1 หรือ 4 ลงที่สถานีศาลาพระเกี้ยว และต่อรถ Shuttle Bus สาย 5  หรือรถตุ๊ก ตุ๊ก “Muvmi” ลงสถานีลานจอดรถอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ 

• รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานี สามย่าน ต่อรถ Shuttle Bus สาย 5 หรือ รถตุ๊ก ตุ๊ก “Muvmi” ลงสถานีลานจอดรถอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ 

• รถประจำทาง สาย 73, 73 ก, 113  (ถนนบรรทัดทอง)


วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แถลงข่าวโครงการสูงวัยหัวใจยัง WORK ปี 2 ‘ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง’

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แถลงข่าวโครงการสูงวัยหัวใจยัง WORK ปี 2 

‘ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง’


         กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แถลงข่าวโครงการ สูงวัยหัวใจยัง WORK ปี 2 "สื่อเปลี่ยน ผู้สูงอายุปรับ ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง สร้างประโยชน์ให้กับสังคม" วัตถุประสงค์หลัก เพื่อสานต่อพันธกิจในด้านการดําเนินโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้สูงอายุ, การนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง มีความกระฉับกระเฉงในการดําเนินชีวิตประจําวัน  และมีความสัมพันธ์ที่ดีและมีส่วนร่วมทํากิจกรรมกับคนในครอบครัว ชุมชน  อีกทั้งมีความสามารถสร้างผลผลิตเพื่อ ความมั่นคงทางรายได้เพื่อการดํารงชีพของตนเอง รวมทั้งสามารถสร้างผลผลิตในชุมชน และสามารถใช้เทคโนโลยีดีจิทัล ในการดํารงชีวิตประจําวันได้อย่างปลอดภัย ที่ E 88 Bangkok สุขุมวิท เมื่อวันที่12 กันยายน 2566





        ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์และพฤติกรรมการบริโภคสื่อของผู้สูงอายุได้ เปลี่ยนไปอย่างมาก มีการเข้าถึงข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น จากข้อค้นพบของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ที่ระบุว่า ผู้สูงอายุ ช่วงอายุ  60 - 70 ปี และ ช่วงอายุ 50 - 59 ปี เข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ต เฉลี่ย 2 - 3 ชั่วโมง ต่อวัน และ ช่วงอายุ 50 - 54 ปีที่กําลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึง 4 - 5 ชั่วโมง ต่อวัน โดยมักจะใช้ในการสนทนา การติดตามข้อมูลข่าวสาร สืบค้นข้อมูลและโพสต์ข้อความ รวมไปถึงมีการรับ- ส่งอีเมล ซื้อสินค้าออนไลน์ และทําธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน ในระดับที่เพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อค้นพบดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้สูงอายุยอมรับที่จะใช้เทคโนโลยีผ่านกิจกรรมการดําเนินชีวิตประจําวันมากขึ้น  ทั้งใช้ในการติดตามข่าวสาร หาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในครอบครัว เพื่อน ชุมชน รวมทั้งชุมชน ออนไลน์ สามารถแสวงหาความบันเทิงจากสื่อออนไลน์มาใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้ แสดงให้เห็นว่าสื่อออนไลน์ เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งของการดํารงชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ และผู้ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้น




            กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และมีส่วนสําคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก  จึงได้ดําเนินโครงการ
“สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก ปี 2 ” เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างในการดําเนินชีวิตประจําวัน ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีและมีส่วนร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคม สามารถปรับตัวนําเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสร้างรายได้ และสร้างผลผลิตให้สังคมได้




           ทั้งนี้การสะท้อนจากผลของโครงการในปีที่ 1 มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน และ ลงพื้นที่บ่มเพาะจนเกิด ความเข้าใจ ให้ทําได้และใช้เป็น ‘กระบวนการนี้นอกจากผมจะชื่นชมผู้สูงวัยที่ร่วมโครงการทุกท่านแล้วที่ขาดไม่ได้เลยคือ น้อง ๆ ที่เป็น “Digital Buddy” ที่มีความพร้อมในการให้คําปรึกษาและสนับสนุน เสมือนลูกหลานที่คอยช่วยเหลือผู้ร่วมกิจกรรมให้ก้าวข้ามอุปสรรค ในการพัฒนาทักษะทางดิจิทัล เป็นหน่วยสนับสนุนร่วมบ่มเพาะจนเกิดต้นแบบที่เป็น องค์ความรู้กลับคืนสู่สังคมจึงนํามาสู่การสานต่อและขยายผลในโครงการ ปี 2  ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนให้เกิดนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อไป ทุกข้อคิดเห็น ทุกข้อเสนอแนะ มีคุณค่าและความสําคัญต่อการพัฒนาภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อไป’



        โดยภายในงานยังมีวงเสวนา “สื่อเปลี่ยน ผู้สูงอายุปรับ ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง สร้างประโยชน์ให้กับสังคม” โดยมีผู้ร่วมเสวนา อาทิ คุณอนุชิต มณีชัย นักพากย์สารคดีและคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สอนอ่านหนังสือเสียง, คุณอนุสร ตันเจริญ คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ Food Blogger, คุณเพชรี พรหมช่วย สื่อมวลชนอาวุโส และคอนเทนต์ครีเอเตอร์สอนโยคะออนไลน์,  คุณเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สําหรับประชาชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ติดตามข้อมูลข่าวสารกิจกรรมได้ที่
FACEBOOK: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
FACEBOOK: สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก
TikTok: สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566

สวนหลวง-สามย่านจัดเทศกาลกินเจครั้งใหญ่ 9 วัน เชิญสักการะขอพรเจ้าแม่ทับทิม 15-23 ตุลาคม 2566 ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

สวนหลวง-สามย่านจัดเทศกาลกินเจครั้งใหญ่ 9 วัน 

เชิญสักการะขอพรเจ้าแม่ทับทิม  

15-23 ตุลาคม 2566 ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

           สวนหลวง-สามย่าน จัดเทศกาลกินเจครั้งยิ่งใหญ่ เชิญชวนอิ่มเจ อิ่มใจ อิ่มบุญ ร่วมใจแจกอาหารเจตลอดเทศกาลกินเจ 9 วัน ระหว่างวันที่ 15-23 ตุลาคม  2566 ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดถนนบรรทัดทอง

    ตลอดเทศกาลกินเจสร้างกุศล พลาดไม่ได้กับการสักการะบูชาเจ้าแม่ทับทิม ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตรับเทศกาลกินเจ พร้อมแจกอาหารเจตลอดเทศกาลกินเจ 9 วัน และยังพบกับกิจกรรมเทศกาลกินเจตลอดเส้นทางจุฬาฯ ซอย 5

            ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ เปิดให้บริการเวลา 06.00 น. – 18.00 น. ในบรรยากาศที่รายล้อมด้วยพื้นที่สีเขียวเป็นปอดขนาดใหญ่ใจกลางเมือง อุดมด้วยแมกไม้นานาพรรณที่คุณได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งความสะดวก สบาย ปลอดภัย รวมทั้งมีสถานที่จอดรถกว้างขวาง  ในอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ หรือสามารถเดินทางได้หลากหลายช่องทาง อาทิ

• รถยนต์ส่วนตัวสามารถจอดรถได้ที่ลานจอดรถอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

• รถไฟฟ้า BTS สถานี สนามกีฬาแห่งชาติ ต่อรถ Shuttle Bus สาย 2 ลงป้าย อาคารจุฬาพัฒน์ 14 แล้วเดินต่อมาที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ หรือ ตุ๊ก ตุ๊ก  Movmi ลงสถานีลานจอดรถอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

• รถไฟฟ้า BTS สถานี สยามสแควร์ ต่อรถ Shuttle Bus สาย 1 หรือ 4 ลงที่สถานีศาลาพระเกี้ยว และต่อรถ Shuttle Bus สาย 5  หรือรถตุ๊ก ตุ๊ก “Muvmi” ลงสถานีลานจอดรถอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ 

• รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานี สามย่าน ต่อรถ Shuttle Bus สาย 5 หรือ รถตุ๊ก ตุ๊ก “Muvmi”  ลงสถานีลานจอดรถอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ 

• รถประจำทาง สาย 73, 73 ก, 113 (ถนนบรรทัดทอง)


วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566

เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต อวัยวะและดวงตา ครั้งที่ 11 พร้อมชวนร่วมลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครกาชาด 26 กันยายนนี้ที่ชั้น 6 โซน B

เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต อวัยวะและดวงตา ครั้งที่ 11 

พร้อมชวนร่วมลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครกาชาด 26 กันยายนนี้ที่ชั้น 6 โซน B

           เตรียมร่างกายให้พร้อม!! ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย จัดกิจกรรม บริจาคโลหิต อวัยวะและดวงตา Plus 1 เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต ครั้งที่ 11 ขอเชิญชวนร่วมบริจาคโลหิต ลงทะเบียนบริจาคอวัยวะและดวงตา ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครกาชาด ในวันอังคารที่ 26 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 11.00 น. – 15.00 น. ชั้น 6 โซน B พร้อมรับของที่ระลึกแทนคำขอบคุณเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวบรรจุถุงมาบุญครอง ข้าวกล้องหอมใหม่ 100 % ขนาด 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ถุง และ หน้ากากอนามัย 1 กล่อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เอ็ม บี เค คอนแทคท์เซ็นเตอร์ 1285 พร้อมติดตามกิจกรรมและโปรโมชันดี ๆ ของศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ได้ที่ https://mbk-center.co.th/ หรือเฟซบุ๊กเพจ mbkcenterth อินสตาแกรม mbkcenter



วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2566

ททท. ขานรับนโยบายท่องเที่ยว เร่งเดินหน้าหารือภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเต็มสูบ

ททท. ขานรับนโยบายท่องเที่ยว เร่งเดินหน้าหารือภาคเอกชน

เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเต็มสูบ

​             นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พบปะสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมฯ ​ทั้ง​ 15 สมาคมในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว​ อาทิ​ สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมบริการท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ สมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมสายการบินประเทศไทย สมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจ สมาคมรถโดยสารไม่ประจำทาง สมาคมมัคคุเทศก์แห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น สมาคมคีตะมวยไทย สมาคมนักบินว่าวแห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย และสมาคมสปาไทย​ ร่วมรับประทานอาหาร พร้อมพูดคุยเพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะ​แนวทาง ความต้องการในการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวไทย​ ก่อนนำเสนอรัฐบาลต่อไป ณ​ ห้องประชุม​สุพรรณหงส์​ อาคาร​ ททท. เมื่อวันที่ 4 กันยายน​ 2566​ เวลา​ 11.30​ น.

  

              โดย​ ททท.​ จะได้กำหนดมาตรการส่งเสริมในระยะเร่งด่วน Quick win 3 เดือน​ เน้น กระตุ้นการตลาดส่งเสริมการขาย มาตรการปลดล๊อคอุปสรรคการเดินทาง เสริมสร้างภาพลักษณ์ และ​มาตรการส่งเสริมระยะ​ Long​term ในการช่วยเหลือและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ​ภาคอุตสาหกรรม​ท่องเที่ยว ในการเตรียมความพร้อมตอบโจทย์นักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ​ และกระแสความยั่งยืน โดยมุ่งสู่เป้าหมายรายได้ 3 ล้านล้านในปี 2567

"ฐาปนีย์" ผู้ว่าการ ททท. สวมชุดผ้าไทยล้านนา สีสันสดใสดุจนางพญา นำทัพนางแบบนายแบบเดินแบบ ภายใต้คอนเซปต์ “เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ” ในงาน “Fashion on the Road 1ST Chiang Rai Designer’s Competition” สืบสานวัฒนธรรมล้านนา สะบัดแฟชั่นผ้าไทยไกลสู่สากล

"ฐาปนีย์" ผู้ว่าการ ททท. สวมชุดผ้าไทยล้านนา สีสันสดใสดุจนางพญา

นำทัพนางแบบนายแบบเดินแบบ ภายใต้คอนเซปต์ “เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ”

ในงาน “Fashion on the Road 1ST Chiang Rai Designer’s Competition” 

สืบสานวัฒนธรรมล้านนา สะบัดแฟชั่นผ้าไทยไกลสู่สากล

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Fashion on the Road 1ST Chiang Rai Designer’s Competition” ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภูมิภาคภาคเหนือ นำโดยนางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ร่วมกับ สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย นำโดยคุณนงเยาว์ เนตรประสิทธิ์ โดยมีนายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. นายชัยพฤกษ์ ทองคำ นายกสมาคมสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) นายอดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) นายวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงราย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้เกี่ยวข้องในแวดวงการท่องเที่ยว แขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน และประชาชน ให้เกียรติร่วมจำนวนมาก ณ หน้าด่านพรมแดนไทย – เมียนมา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566

การจัดงาน “Fashion on the Road 1ST Chiang Rai Designer’s Competition” ในครั้งนี้ เพื่อร่วมดันจุดขาย F-Fashion อัตลักษณ์แห่งวัฒนธรรมการแต่งกายผ้าไทยล้านนาของ 10 ชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย โลดแล่นบนเวทีแฟชั่นโชว์แคทวอล์กเหนือสุดของประเทศไทย นำเสนอ 100 ชุดผ้าไทยล้านนา จาก 72 ดีไซน์เนอร์ทั่วประเทศ พร้อมต่อยอดออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวสายแฟชั่นเชื่อมโยงสู่การเดินทางจริงในพื้นที่ กระตุ้นท่องเที่ยว Green Season และต่อเนื่องตลอดปี


สำหรับไฮไลท์ของงานก็คือ "Fashion on the Road At Mae Sai" ซึ่งเป็นครั้งแรกของงานแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไทยของภูมิภาคภาคเหนือกว่า 100 ชุด จาก 72  ดีไซน์เนอร์ทั่วประเทศ ในวันที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 16.25 น.  นำโดยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. ให้เกียรติร่วมเดินแบบ พร้อมเหล่านายแบบและนางแบบกว่า 20 ท่าน รวมทั้งเฟ้นหาสุดยอดนักออกแบบแฟชั่นดีไซน์รุ่นใหม่จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศที่มีความสนใจแฟชั่น งานออกแบบผ้าพื้นเมือง ภายใต้แนวคิด “แฟชั่นผ้าล้านนาสู่แฟชั่นระดับโลก” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 400,000 บาท  และยังนำเสนอความพิเศษกับ F-Food ยกทัพบูธอาหาร ทั้งอาหารไทยท้องถิ่นและฟิวชั่น รวมทั้งต่อยอด F-Fashion จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานผ้า Art & Craft สไตล์ Northern อันเป็นเอกลักษณ์ให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัส และยังชวนร่วมสนุกกับกิจกรรม Check in @ Chiang Rai เพียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการร่วมกิจกรรมสแกน QR Code พร้อม Check in at Chiang Rai บนสื่อโซเซียล ก็สามารถลุ้นรับสิทธิพิเศษ บัตรกำนัล 500 บาท 50 รางวัล ทุกเดือน จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้อีกด้วย

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ตามที่ ททท. มุ่งพลิกโฉมไทยเที่ยวไทย สร้างตำนานการเดินทางท่องเที่ยวบทใหม่ที่จะเป็นไทยเที่ยวไทย Limited Edition สอดรับปีท่องเที่ยวไทย 2566 ด้วยการชูจุดขาย Soft Power of Thailand ควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience-based Tourism) จัดกิจกรรม “Fashion on the Road 1ST Chiang Rai Designer’s Competition” ในวันที่ 1 – 2 กันยายน 2566 ณ บริเวณหน้าด่านพรมแดนไทย – เมียนมา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกกับกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์การเดินแบบแฟชั่นโชว์ผ้าไทยล้านนาที่สะท้อนอัตลักษณ์ของภูมิภาคภายใต้คอนเซปต์ “เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ” โดยหยิบยก  F-Fashion วัฒนธรรมความงดงามของการแต่งกายมาเล่าขานผ่านเรื่องราวเส้นสายลายผ้าภาคเหนือของ 10 กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ไตหย่า ลาหู่ ลั้ว ไทยวน ไทใหญ่ อาข่า ไทลื้อ ไทเขิน จีนยูนนาน และลายผ้าชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น ปกาเกอะญอ ม้ง ลีซู อิ้วเมี่ยน เป็นต้น ทั้งเชื่อมโยงไปถึงภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยจะต่อยอดออกแบบสร้างสรรค์เป็นเส้นทางท่องเที่ยวสายแฟชั่นเชื่อมโยงในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางจริง ค้นหาประสบการณ์ท่องเที่ยวที่เปี่ยมด้วยคุณค่าและความหมาย (Meaningful Travel) ด้วยตัวเอง

นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ปี 2566 นี้ จังหวัดเชียงรายมุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านมุมมองใหม่ ภายใต้แนวคิด “The New Travel Chapter of Chiang Rai FY2023” โดยเล็งเห็นโอกาสในการนำ Soft Power โดยเฉพาะผ้าไทยล้านนาของจังหวัดเชียงรายเข้ามาประยุกต์ เพื่อมุ่งยกระดับมาตรฐานสู่ระดับประเทศและระดับโลก โดยได้ออกแบบสร้างสรรค์ถนนบริเวณหน้าด่านพรมแดนไทย – เมียนมา อำเภอแม่สาย ให้กลายเป็นแคตวอล์ก ณ จุดเหนือสุดบนดินแดนของราชอาณาจักรไทย ไม่เพียงเท่านั้น หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงรายยังได้ผนึกกำลังมอบความพิเศษจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายนำเสนอโปรโมชั่นและสิทธิส่วนลดสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดเชียงราย ทั้งยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP เสื้อผ้า เครื่องประดับ งาน ART & CRAFT อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอีกมากมายกว่า 100 ร้านค้า ให้ผู้ร่วมงานได้เลือกชิมช้อปกันอย่างจุใจ ซึ่งเชื่อมั่นว่า งาน “Fashion on the Road 1ST Chiang Rai Designer’s Competition”จะช่วยดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพให้เดินทางมาท่องเที่ยวเชียงรายมากขึ้น และเป็นโอกาสในการสร้างรายได้หมุนเวียนทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายช่วง Green Season ต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2566 ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ททท. เชื่อมั่นว่า กิจกรรม “Fashion on the Road 1ST Chiang Rai Designer’s Competition”   จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่ดีของภาคเหนือแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งสะท้อนศักยภาพของหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนและเสนอขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวในพื้นที่  นำสู่การหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึง ตลอดจนผลักดันภาพรวมตลาดในประเทศ ประจำปี 2566

#เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ

#GoNorthThailand

#AmazingThailand

#แอ่วเจียงฮาย


"ERGO ยกระดับการดูแล ส่งต่อความห่วงใย เปลี่ยนการเดินทางให้ง่ายขึ้นตลอดช่วง 7 วันอันตราย"

"ERGO ยกระดับการดูแล ส่งต่อความห่วงใย เปลี่ยนการเดินทางให้ง่ายขึ้นตลอดช่วง 7 วันอันตราย"      ERGO แบรนด์ประกันภัยชั้นนำจากเยอรมัน...